คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ
web การสอนคณิตศาสตร์ ทุกๆ เนื้อหาใน Quarter 2/2557
ปฏิทินและวิเคราะห์มาตรฐานการจัดกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
||||
12
- 13
|
โจทย์
จำนวนจริง
Key
Questions
- นักเรียนสังเกตเห็นตัวเลขหรือจำนวนที่ไหนบ้าง และมาได้อย่างไร
-
ตัวเลขที่นักเรียนรู้จักสามารถเขียนในรูปไหนได้บ้าง
-
นักเรียนคิดว่าจำนวนตรรกยะ และอตรรกยะ เป็นอย่างไร
และต่างกันอย่างไรพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
-
นักเรียนคิดว่า จำนวนที่อยู่ระหว่าง
1 กับ 2
มีกี่จำนวน
เครื่องมือคิด
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับที่มาของตัวเลข
การจัดหมวดหมู่ตัวเลข
Card
and chart ตัวเลข จำนวน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
กระดาษตัวเลข
- บรรยากาศในห้องเรียน
-
กระดาษการ์ด
- กระดาษ A4
|
- ครูและนักเรียนทบทวนเรื่องของจำนวน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
-
นักเรียนแต่ละคนจัดหมวดหมู่ตัวเลขรวมกันพร้อมทั้งบอกเหตุผลประกอบ
-
นักเรียนแต่ละคนเสนอรูปแบบของจำนวน เช่น 1 ,
0.5 , 50% ,
-
นักเรียนดูโครงสร้างของจำนวน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิดว่าจำนวนตรรกยะ และอตรรกยะ เป็นอย่างไร
และต่างกันอย่างไรพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
-
ครูให้นักเรียนดูเส้นจำนวน แล้วใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิกว่าจำนวนฝั่งซ้ายและขวาเป็นตัวเลขอะไรได้บ้างและลักษณะอย่างไร
แต่ละคนแสดงความคิดเห็น
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
จำนวนและจำนวนไม่เต็มเป็นอย่างไร และเราจะเขียนบนเส้นจำนวนได้อย่างไร
-
นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งตักอย่างประกอบ
- นักเรียนทำใบงาน
1.
นักเรียนยกตัวอย่างจำนวนตรรกยะ อตรรกยะ
2.จงพิจารณาว่าข้อความต่อไปนี้เป็นจริงหรือเท็จ
…………..1) 0.001001001001…เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..2)
0.110110110110… เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..3)
0.7676676667666… เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..4)
0.59999…. เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..5)
0 เป็นจำนวนจริง
…………..6)
จำนวนที่เขียนได้ในรูปทศนิยมซ้ำไม่เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..7) …. เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..8) ….
เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..9) 2.548754652 เป็นจำนวนตรรกยะ
…………..10) 2.5 เป็นจำนวนตรรกยะ
- ครูตั้งโจทย์คำถามชวนให้คิดต่อ
นักเรียนคิดว่าจำนวนหรือตัวเลขเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตเราอย่างไร
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ผ่าน Mind mapping
|
ภาระงาน :
- การจัดหมวดหมู่ของจำนวน
- การนำเสนอเกี่ยวกับจำนวนตรรกยะ อตรรกยะ
ชิ้นงาน :
-
Mind
mapping ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวนจริง
- ใบงาน
|
- เข้าใจที่มาและความสำคัญของตัวเลข ความหลากหลายของจำนวน
อธิบายจำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ - วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่เรียนรู้และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะ - การแสดงความคิดเห็นในมุมมองของตนเองต่อส่วนรวม
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่เหมาะสมและการออกแบบวิธีคิดจากสื่อต่างๆ) - เป็นนักคิด
นักวางแผนการเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการออกแบบ -
ทักษะการแก้ปัญหาเกี่ยวกับจัดหมวดหมู่ของตัวเลข และการแก้ไขโจทย์ปัญหา - ทักษะ ICT เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลและการจัดกระทำข้อมูล
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
||||
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง :ตัวชี้วัด ม.4-6/1
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง
การดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.2/2
มาตรฐาน ค 1.3 เข้าใจระบบจำนวนและใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ ม.3/6
|
||||||||
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
||||
14
- 15
|
โจทย์
เลขยกกำลัง
Key Questions
- นักเรียนคิดว่าเราจะสามารถเขียนตัวเลขชุดนี้ 4, 9, 16, 25, … ให้อยู่ในรูปแบบอื่นจะเขียนได้อย่างไร
- หากเราจะเรียนรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลัง เราจะเรียนเรื่องใดบ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share
-
นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการคิด
- นำเสนอเกี่ยวกับการเขียนเลขชุดใด
ให้อยู่ในระบบเลขยกกำลัง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดตัวเลขที่นำมาสร้างเลขยกกำลัง
- เกมการคิดทางคณิตฯ
|
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับระบบโครงสร้างระบบจำนวน
- นักเรียนตั้งโจทย์ เกม 24 ให้นักเรียน
1.
5 3 6
8
2. 3 9
2 4
- นักเรียนเรียนฝึกทำโจทย์การคิด
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
นำเสนอวิธีคิด
-
นักเรียนออกแบบวิธีคิดลงในสมุดทดคิด
- ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับชุดตัวเลขดังกล่าวว่า “นักเรียนคิดว่าเราจะสามารถเขียนตัวเลขชุดนี้
4, 9, 16, 25, … ให้อยู่ในรูปแบบอื่นจะเขียนได้อย่างไร?”
- นักเรียนออกแบบวิธีคิดลงในสมุดทดคิดของแต่ละคน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด(การบ้าน)“หากเราจะเรียนรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลัง
เราจะเรียนเรื่องใดบ้าง?”
- นักเรียนและครูร่วมนำเสนอเกี่ยวกับเนื้อทั้งหมดของเลขยกกำลัง
- ครูหาโจทย์ที่ท้าทายเกี่ยวกับเลขยกกำลัง
พานักเรียนฝึกการคิดจากง่ายไปหายาก หรือโจทย์ปัญหาสถานการณ์
-
ครูให้นักเรียนทำซาร์ตเกี่ยวกับชุดความรู้เรื่องเลขยกกำลัง
|
ภาระงาน
-
นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องโครงสร้างระบบจำนวน
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นจากการแก้โจทย์ปัญหาเลขยกกำลัง
-
นักเรียนเขียนถ่ายทอดบทนิยามของเลขยกกำลัง ตามความเข้าใจของแต่ละคน
-
นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบทำซาร์ตความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลัง
ชิ้นงาน
- ซาร์ตความรู้เลขยกกำลัง
- ใบงานเกี่ยวกับโจทย์เลขยกกำลัง
|
ความรู้
จำนวนต่างๆ ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเลขยกกำลัง
สัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่นำเลขยกกำลังไปประยุกต์ใช้
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับวิธีคิดที่ตนเองออกมานำเสนอ
และเพื่อนๆ ช่วยกันตรวจสอบให้เพื่อนได้อธิบายเหตุผล
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์โจทย์โดยนำสิ่งที่เรียนมามาประยุกต์ใช้ในการคิด
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาต่างๆ
เกี่ยวโจทย์สถานการณ์เกี่ยวกับเลขยกกำลัง
ทักษะการเห็นแบบรูป
- สามารถเชื่อมโยงตัวเลขใช้ในการแก้ปัญหาได้
และเห็บแบรูปของชุดตัวเลขที่กำหนดให้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนเกี่ยวกับเลขยกกำลังนำมาเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและอธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
/ ที่แตกต่าง / เพิ่มเติมความคิดเห็น
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
||||
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง :ตัวชี้วัด ม.4-6/3
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง
การดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.4-6/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น
ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ
ม.3/6
|
||||||||
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
||||
16 - 17
|
โจทย์
เส้นขนาน
Key
Questions
-
นักเรียนคิดว่าเส้นขนานที่เห็นในชีวิตประจำวันของเรามีอะไรบ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share นำเสนอชาร์ตเกี่ยวกับเส้นขนาน มุมภายใน มุมภายนอก
รูปสามเหลี่ยม
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
กระดาษตัวเลข
- บรรยากาศในห้องเรียน
-
กระดาษการ์ด
- กระดาษ A4
|
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิดว่าเส้นขนานที่เห็นในชีวิตประจำวันของเรามีอะไรบ้าง ให้แต่ละคนยกตัวอย่างคนละสามสิ่ง
โดยไม่ซ้ำกัน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น พร้อมทั้งยกตัวอย่าง
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เพื่อนยกตัวอย่างเป็นเส้นขนาน
นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
-
นักเรียนดูรูป
-
นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 4 คน จับฉลากเลือกหัวข้อดังนี้
1. เส้นขนานและมุมภายใน
2.
เส้นขนานและมุมแย้ง
3. เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน
4.
เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอหัวข้อที่ได้ให้เพื่อนและครูฟัง
พร้อมทั้งซักถามข้อสงสัย
-
นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับเส้นขนาน
- ให้นักเรียนสังเกตว่าส่วนของเส้นตรงสองเส้นขนานกันหรือไม่อย่างไร
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเส้นขนาน
มุมภายใน มุมภายนอก รูปสามเหลี่ยม
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ผ่าน นิทานช่อง
|
ภาระงาน :
- การยกตัวอย่างเส้นขานในชีวิตประจำวัน
- การแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
- การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเกี่ยวกับเส้นขนาน มุมภายใน มุมภายนอก
รูปสามเหลี่ยม
ชิ้นงาน :
-
ชาร์ตเกี่ยวกับเส้นขนาน มุมภายใน มุมภายนอก รูปสามเหลี่ยม
- ใบงาน
-
นิทานช่องเรื่อเส้นขนาน
|
ความรู้ - สมบัติของเส้นขนาน และเงื่อนไขที่ทำให้เส้นตรงสองเส้นขนานกัน
และการให้เหตุผลในการแก้ปัญหาโจทย์
เห็นความเชื่อมโยงได้ว่ารูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม – มุม – ด้าน เท่ากันทุกประการ พร้อมทั้งเชื่อมโยงโดยใช้สมบัติเกี่ยวกับเส้นขนานและความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมในการให้เหตุผลและแก้ปัญหา
- วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องที่เรียนรู้และการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
รูปทรงที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ที่มุมมองแตกต่างกัน
คิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์
-
ทักษะ ICT เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลและการจัดกระทำข้อมูลเกี่ยวกับเส้นขนาน
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น
ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับเรขาคณิต
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ
ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
||||
มาตรฐาน ค 3.2 เข้าใจเรขาคณิต
และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ
(spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต
(geometric model) ในการแก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.2/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น
ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ
ม.3/6
|
||||||||
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
||||
18 - 19
|
โจทย์
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส
Key
Questions
- นักเรียนคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
เป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
รูปสามเหลี่ยม
- บรรยากาศในห้องเรียน
-
กระดาษการ์ด
- กระดาษ A4
|
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนเรื่องเลขยำกำลัง
นักเรียนดูรูปสามเหลี่ยม
นักเรียนคิดว่าเป็นรูปสามาเหลี่ยมชนิดใด
เพราะเหตุใด
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น
-
นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก แล้ววัดความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากและเติมคำตอบ
ลงในตารางที่กำหนดให้โดยใช้หน่วยเป็นเซนติเมตรเมื่อ
a,
b คือความยาวของด้านประกอบ
มุมฉาก
c
คือความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
ชง :
- นักเรียนคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
เป็นอย่างไร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
พร้องทั้งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
ชง :
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจงหาความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากในสามเหลี่ยมมุมฉากที่กำหนดให้ต่อไปนี้
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น-
แสดงวิธีคิดของตนเองในสมุด พร้อมทั้งนำเสนอวิธีคิดให้ครูและเพื่อนฟัง
พร้อมทั้งอธิบายสมบัติของเส้นขนานพร้อมทั้งซักถามข้อสงสัย
ใช้ :
-
นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ
- นักเรียนแต่แต่ละคนตั้งโจทย์เกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัสแล้วเปลี่ยนกับเพื่อน
|
ภาระงาน :
- การแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
- การตั้งโจทย์ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัสและทำใบงาน
ชิ้นงาน :
- ใบงาน
-
โจทย์ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส
|
|||||
มาตรฐาน ค 3.2 เข้าใจเรขาคณิต
และใช้การนึกภาพ (visualization) เพื่อใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ
(spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต
(geometric model) ในการแก้ปัญหา : ตัวชี้วัด ม.2/2
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ
ม.3/6
|
||||||||
Week
|
Input
|
Possess
|
Output
|
Outcome
|
||||
20 - 21
|
โจทย์
การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
Key
Questions
- นักเรียนคิดว่า 8 หรือ 4 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6 หรือไม่?
- นักเรียนคิดว่าสมการสองสมการที่จะเท่ากัน จะมีความสัมพันธ์อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Show and
Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบจากสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
-
นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติการเท่ากับของสมการ 2 สมการ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
ภาพเกี่ยวกับโจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
-
รูปทรงแบบรูปและความสัมพันธ์
|
ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวที่ผ่านมา
- ครูยกตัวอย่างสมการแล้วให้นักเรียนพิจารณาว่าสมการเป็นจริงหรือเป็นเท็จ
5 + 7 = 12 ……………………
18 – 2 = 10
……………………
8 + 9 = 17 ……………………
29 – 5 = 24 ……………………
- ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิด
พร้อมทั้งยกตัวอย่างสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- ครูยกตัวอย่างโจทย์ ก่อนมาโรงเรียนคุณแม่ให้เงินน้องฝิ่นจำนวนหนึ่งรวมกับที่คุณพ่อให้เงินอีก
10 บาท เป็น เงิน 35 บาท อยากทราบว่า คุณแม่ให้เงินกี่บาท
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิด
แนวคิด ให้ x แทนจำนวนเงินที่คุณแม่ให้
เขียนสมการได้ดังนี้ x +10 = 35
- นักเรียนพิจารณาโจทย์ต่อไปนี้
1. จำนวนจำนวนหนึ่งรวมกับ
3 เท่ากับ 15
ให้x แทน จำนวนจำนวนหนึ่ง
เขียนสมการได้ดังนี้……….
2 จำนวนจำนวนหนึ่งหักออก
13 เหลือ 6
…………………………..
เขียนสมการได้ดังนี้……….
3. ห้าเท่าของจำนวนจำนวนหนึ่งเท่ากับ
60
……………………………
เขียนสมการได้ดังนี้……….
4. หนึ่งในสี่ของจำนวนจำนวนหนึ่งเท่ากับ
12
……………………………
เขียนสมการได้ดังนี้……….
5. สุภาพรอายุน้อยกว่า
วินัย 5 ปี ถ้าวินัยอายุ 20 ปี สุภาพรมีอายุเท่าไร
……………………………
เขียนสมการได้ดังนี้……….
6. ป๋องมีเงินเป็น 2
เท่าของตาล ถ้าป๋องมีเงิน 400 บาท ตาลมีเงินเท่าไร
……………………………
เขียนสมการได้ดังนี้……….
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่า 8 หรือ 4 เป็นคำตอบของสมการ x - 2 = 6 หรือไม่?”
- นักเรียนร่วมเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม ทุกคนเขียนตัวอย่างโจทย์
วิธิคิด.
“พิจารณาสมการ x - 2 = 6
แทนค่า x = 8 จะได้ 8
- 2 = 6 ทำให้สมการเป็นจริง
แทนค่า x = 4 จะได้ 4
- 2 ไม่เท่ากับ 6 ทำให้สมการเป็นเท็จ
ดังนั้น 8 เป็นคำตอบของสมการ x
- 2 = 6”
-
นักเรียนลองตั้งโจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวให้เพื่อนๆ ฝึกทำ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสมการสองสมการที่จะเท่ากัน
จะมีความสัมพันธ์อย่างไร?”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับผลลัพธ์ของสมการทั้ง 5 ข้อ จากการนำเสนอความเข้าใจของแต่ละคน
อภิปรายวิธคิดที่แตกต่าง
ร่วมตั้งคำถามเพื่อให้เพื่อนที่นำเสนอได้อธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนตั้งโจทย์ปัญหาสามการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
-
การ์ตูนถ่ายทอดความเข้าใจสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
-
เขียนสรุปชาร์ตการแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
|
ภาระงาน
-
นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตสองมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติ
-
นักเรียนนำเสนอความเข้าใจวิธีคิดที่นำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
-
ทำชิ้นงานการ์ตูน/ใบงานเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ชิ้นงาน
-
ใบงานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
-
ชาร์ตถ่ายทอดความเข้าใจและการ์ตูนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
|
ความรู้
การวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์จากแบบรูปของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้
และสามารถแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้สมบัติของการเท่ากันได้ตลอดจนเขียนสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวแทนสถานการณ์หรือปัญหาอย่างง่ายและแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ทักษะ
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น
ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้
และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ
ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างมีความประณีต
- มีความมุ่งมั่นในการ
- ส่งงานตรงเวลา
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ขณะที่มีผู้นำเสนอ
คนที่รับฟังเขียนขมวดความเข้าใจลงในสมุดทดคิด
|
||||
มาตรฐาน ค 4.2 เข้าใจและใช้นิพจน์ สมการ
อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical
model) อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา : ตัวชี้วัด
ม.2/1
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3,ม.3/4, ม.3/5, และ
ม.3/6
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น